ผู้รับผิดชอบ
นายไพรัช ทัพแสงศรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร
ที่ปรึกษา ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน
มูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) 253/3 หมู่.3 ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
โทร 088-2526097 / 053-465545 E-mail: th_aec@hotmail.com
หลายปีมานี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายของมนุษย์การเผชิญหน้ากับปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซอันตรายต่าง ๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและสร้างปัญหาต่อสุขภาพของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งเกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การเผาในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแหล่งมลพิษที่สำคัญที่ก่อให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เถ้าและเขม่าควัน ระบายออกสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควัน มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาชีพการเกษตร กล่าวคือ เป็นสาเหตุหลักของปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตร 138 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาคเหนือและภาคใต้ ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน ประเทศไทยมีการเผาตอซัง ฟางข้าว 29.15 ล้านตันต่อปี คิดเป็นกิโลกรัม 29,150 ล้านกิโลกรัมต่อปี มีการเผาตอซังฟางข้าว 29.15 ล้านตันต่อปี คิดเป็นกิโลกรัม 29,150 ล้านกิโลกรัมต่อปี จะมีอัตราการปลดปล่อย Black Carbon จากการเผาตอซังฟางข้าว 1,749 ล้านกรัมต่อปี หรือเท่ากับ 1,749 ตันต่อปี มีปริมาณตอซังฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว 42 ล้านตัน ปริมาณของธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับการเผา 11,468 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ศักยภาพของศูนย์ข้าวชุมชนที่มีอยู่ 1,910 ศูนย์ ทั่วประเทศโดยแต่ละศูนย์มีสมาชิก 25-50 คน เราเชื่อว่า 100 ศูนย์ที่ได้รับการอบรม จะเป็นก้าวแรกในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมลดการเผาในพื้นที่นาได้เป็นอย่างดีและส่งผลต่อพฤติกรรมการผลิตของชาวนาในภาพรวมต่อไป อันจะเป็นผลดีต่อภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อมประเทศไทยอย่างยั่งยืน ตลอดจนสุขภาวะของประชาชนไทยทุกคน
ศูนย์ข้าวชุมชน 100 ศูนย์ ทั่วประเทศไทย
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563
หลายปีมานี้ สิ่งที่เป็นความท้าทายของมนุษย์การเผชิญหน้ากับปัญหาภาวะโลกร้อนและปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซอันตรายต่าง ๆ ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงและสร้างปัญหาต่อสุขภาพของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งเกิดจากการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การเผาในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นแหล่งมลพิษที่สำคัญที่ก่อให้เกิดหมอกควัน ฝุ่นละออง เถ้าและเขม่าควัน ระบายออกสู่ชั้นบรรยากาศ ส่งผลให้เกิดปัญหาหมอกควัน มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและเศรษฐกิจของประเทศ และยังส่งผลกระทบโดยตรงต่ออาชีพการเกษตร กล่าวคือ เป็นสาเหตุหลักของปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตร 138 ล้านไร่ โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ คิดเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ทั่วประเทศ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ทำนามากที่สุด รองลงมาได้แก่ภาคเหนือและภาคใต้ ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน ประเทศไทยมีการเผาตอซัง ฟางข้าว 29.15 ล้านตันต่อปี คิดเป็นกิโลกรัม 29,150 ล้านกิโลกรัมต่อปี มีการเผาตอซังฟางข้าว 29.15 ล้านตันต่อปี คิดเป็นกิโลกรัม 29,150 ล้านกิโลกรัมต่อปี จะมีอัตราการปลดปล่อย Black Carbon จากการเผาตอซังฟางข้าว 1,749 ล้านกรัมต่อปี หรือเท่ากับ 1,749 ตันต่อปี มีปริมาณตอซังฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว 42 ล้านตัน ปริมาณของธาตุอาหารที่สูญเสียไปกับการเผา 11,468 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้ศักยภาพของศูนย์ข้าวชุมชนที่มีอยู่ 1,910 ศูนย์ ทั่วประเทศโดยแต่ละศูนย์มีสมาชิก 25-50 คน เราเชื่อว่า 100 ศูนย์ที่ได้รับการอบรม จะเป็นก้าวแรกในกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรมลดการเผาในพื้นที่นาได้เป็นอย่างดีและส่งผลต่อพฤติกรรมการผลิตของชาวนาในภาพรวมต่อไป อันจะเป็นผลดีต่อภาคการเกษตรและสิ่งแวดล้อมประเทศไทยอย่างยั่งยืน ตลอดจนสุขภาวะของประชาชนไทยทุกคน
ศูนย์ข้าวชุมชน 100 ศูนย์ ทั่วประเทศไทย
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 – เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563