“ฝุ่นจาง ๆ และควันมหันตภัยใครคือผู้ก่อ”

“ฝุ่นจาง ๆ และควันมหันตภัยใครคือผู้ก่อ”

“ฝุ่นจาง ๆ และควันมหันตภัยใครคือผู้ก่อ”

              ปัญหามลพิษหมอกควันทางอากาศในประเทศไทย ความเป็นจริงเกิดขึ้นมายาวนาน อยู่คู่กับสังคมเกษตรกรรมไทยมาตลอดชั่วอายุของเรา วัฒนะธรรมบางพื้นที่ กิจกรรมการผลิตบางประเภท การเผาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต และการจัดการ อาจเป็นแนวทางที่ผิด หรือไม่ผิดแต่นั่นคือภูมิปัญญาที่สังสมมาจากรุ่นสู่รุ่น เช่น การทำไร่ของเกษตรกรในพื้นที่สูง การทำไร่หมุนเวียน ซึ่งวิถีชีวิตเหล่านี้ ไฟเป็นเครื่องมือหนึ่งในกระบวนการผลิต ยกตัวอย่างให้เห็นเชิงประจักร ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เราจะเรียกว่าเมืองสามหมอก จะมีทั้งหมอกเมฆหมอกฝน หน้าหนาว และก็หมอกควัน ซึ่งก็เป็นแบบนี้มายาวนาน ทำไมในอดีตถึงไม่ส่งผลถึงสุขภาพมนุษย์มากนัก ในอดีตคนทำอาชีพเกษตรกรรมซึ่งจะอยู่ในลักษณะของการยังชีพ ยังไม่ได้ทำในแบบธุรกิจมากมายดังในปัจจุบัน ที่การทำการเกษตรไม่ได้พึ่งพาการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี  เพราะฉะนั้นฝุ่นพิษหรือควันที่ถูกส่งไปในชั้นบรรยากาศจะเป็นการเผาจากเศษวัสดุมากกว่า ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีทางการเกษตร นอกจากนี้ในภาคอุตสาหกรรมก็ไม่ได้มีมากมายดังเช่นปัจจุบัน ในสมัยก่อนการทำอุตสาหกรรม นิคม หรือเครื่องยนต์ หรือ รถยนต์ ประชากรในภาคครัวเรือนไม่มาก ดังนั้นการเผาในอดีตถามว่ามีใหน มีอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน ในอดีตไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บนพื้นที่สูงหรือพื้นราบ การเกษตรล้วนมีกิจกรรมการเผาแทบจะเรียกได้ว่าเป็นเรื่องธรรมดา ในส่วนการเผาฟางในนาข้าว เดิมประเทศไทยเลี้ยงปศุสัตว์จำนวนมาก ฟางข้าวเป็นของมีค่า เป็นอาหารของสัตว์เลี้ยงหลายชนิด การเผาตอชังและฟางข้าวจึงน้อยมาก ส่วนอ้อย และข้าวโพดพึ่งเข้ามามีบทบาทกับสังคมเกษตรกรรมไม่นานมานี้ในฐานะเกษตรอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะการเผาในไร่อ้อยเดิมที่แรงงานตัดอ้อยไม่แพงอ้อยไฟไหม้จะน้อยมาก แต่ปัจจุบันแรงงานตัดอ้อยหาอยากและราคาแพงเกษตรกรจึงเลือกใช้แนวทางการเผาเพื่อให้สะดวกต่อการตัด ส่วนข้าวโพดพื้นที่ผลิตส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคเหนืออยู่ใกล้ป่าสงวน หรืออยู่ในเขตป่า เป็นที่ราบหรือที่เชิงเขา ยากต่อการไถ หรือใช้เครื่องจักรเกษตรกรจึงนิยมเผาทำรายวัชพืชในการเตรียมดิน     

  

         การเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรม ผลิตพร้อมกัน เก็บเกี่ยวพร้อมกันการเผาจึงกลายเป็นแนวทางหนึ่งเพื่อให้เกษตรกรง่ายต่อการจัดการและการเก็บเกี่ยวที่พร้อมกันเมื่อเกษตรกรเผาพร้อม ๆ กัน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ ฝุ่นจาง ๆ หรือควันมารวมกัน จะเห็นได้ว่าปัญหาหนักจะเกิดขึ้น ในช่วงฤดูการหีบอ้อย เริ่มในช่วงเดือน  พฤศจิกายน- เมษายน ในช่วง 5-6 เดือน โรงงานอ้อยทั่วประเทศเปิดโรงงานหีบอ้อยรับซื้อพร้อมกัน เกษตรกรก็ตัดอ้อยพร้อมกันปัญหาแรงงานก็หายากเครื่องจักรไม่เพียงพอกับความต้องการ ค่าแรงแพงเกษตรกรชาวไร่จึงหาวิธีที่ง่ายที่สุดต่อการจัดการ ก็จะใช้วิธีการจัดการเผาก่อนตัดจึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เกษตรกรเลือกใช้ ประมาณกันว่าเกษตรกรที่ตัดอ้อยเผาจะตัดได้เร็วกว่าตัดอ้อยสดประมาณ 3 เท่า เพราะฉะนั้นแรงงาน 1 คน จะตัดได้เร็วถึง 3 เท่า  สมมติว่า 1 คนตัดอ้อยไม่เผาได้ 1 ตัน แต่สามารถตัดอ้อยเผาหรืออ้อยไฟไหม้ได้ถึง 3 ตัน นั่นก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่เกษตรกรเลือกใช้วิธีการเผา ทีนี้เมื่อฤดูการหีบอ้อยเปิดพร้อมกันเผาก็เกิดพร้อมกัน มลภาวะทางอากาศก็ขึ้นพร้อมกันอันนี้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหาหมอกควัน นาข้าวก็เช่นเดียวกันเมื่อการทำนามีการเร่งรอบในการผลิต การเก็บเกี่ยวโดยเครื่องจักร การไถโดยเครื่องจักร การทำนาปีละ 2-3 ครั้ง ฟางที่ถูกปล่อยออกจากรถเกี่ยวนวดเมื่อฟางโดนน้ำกลายเป็นอุปสรรคในการไถของเกษตรกร ฟางไปพันกับผานไถทำให้รถไถไม่สามารถที่จะไถได้ง่ายหรือไถออกมาไม่สวยเท่าที่ควร คนที่รับจ้างไถก็ไม่อยากมารับจ้างเนื่องจากเปลืองเวลาเปลืองน้ำมันไถออกมาก็ไม่ดีมีปัญหากับเครื่องจักรของตัวเอง เนื่องจากการเร่งรอบการผลิตโดยใช้เครื่องจักรมากขึ้น แนวทางปฏิบัติจึงเป็น “เก็บเกี่ยว เผา และไถเลย” เกษตรกรไม่มีเวลารอให้ฟางเปื่อยยุ่ยหรือเกิดการหมักเป็นปุ๋ยหมักเพราะต้องทำนาถึง 2-3 รอบ ซึ่งจะมีปัญหามากในเขตภาคกลาง อันนี้ก็เป็นการทำการเกษตรที่เป็นอุตสาหกรรมมากขึ้น การเผาอีกเหตุผลหนึ่งอาจเกิดขึ้นได้โดยความจำเป็น เช่นภาวะโรคระบาด แมลงในนาข้าว เช่นเพลี้ยกระโดด / แมลงบั่ว / ชื้อรา ปัญหาเหล่านี้เกษตรกรจำเป็นที่จะต้องใช้วิธีการเผาในการเตรียมดิน ก็อาจจะมีไม่มากนัก ทั้งนี้ทั้งนั้น ปัญหาเกิดจากการทำกิจกรรมการผลิตที่เหมือนและพร้อมกัน คือเก็บเกี่ยวพร้อมกันเตรียมดินพร้อมกัน ช่วงเวลาเดียวกันทั้งข้าวและอ้อยและเป็นเวลาที่ประจวบเหมาะกับประเทศไทยเป็นช่วงฤดูหนาวซึ่งอยู่ในช่วงอากาศที่แล้ง ภาวะฝนตกน้อย และไฟป่า ร่วมด้วย อันนี้เป็นสาเหตุจากการเผาร่วมกัน ส่วนข้าวโพดการเผาจะอยู่ในช่วงการเตรียมพื้นที่บนพื้นที่สูงส่วนใหญ่ ในเขตพื้นที่สูงเชื้อเพลิงจะมีมากกว่าในเขตพื้นที่ข้างล่าง ลองจากอ้อย อ้อยใน 2-3 ปี ที่ผ่านมาประมาณกันว่ามีการเผาในพื้นที่การผลิตอ้อยก่อนส่งโรงงาน ประมาณ 55-60 ล้านตัน ก่อนส่งโรงงาน ซึ่งเท่ากับว่าคนไทย 1 คน เผา 1 ตัน ส่ง Black Carbon สู่ชั้นบรรยากาศ ถ้าไม่มีฝนก็ลำบากที่ผ่านมาในบางปีปัญหามลพิษไม่เยอะเพราะว่าอะไร เพราะว่ามีฝนตกพอมีฝน Black Carbon ต่าง ๆ ก็ตกลงมา หมอกจาง ๆ ควันก็หายไป ถามว่าในอดีตที่ผ่านมาการเผาแบบนี้มี แต่ทำไมไม่มีข่าวไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนมากกมายนัก ซึ่งในสมัยก่อนไม่มีเครื่องวัด ค่าของฝุ่นละออง เครื่องวัด PM 2.5 เราพึ่งมาตื่นตัวใน 4-5 ปีที่ ผ่านมานี้เองเลยเห็นเป็นภาพประจักรเป็นผลกระทบในทุกภาคส่วน


ทีนี้จะมาแบ่งสิ่งที่ก่อให้เกิดมลภาวะหลัก ๆ ที่เราต้องช่วยกันวางแผนรับมือ หลัก ๆ ที่หนีไม่ได้ในเรื่องของเครื่องยนต์กลไกล ภาคอุตสาหกรรมโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ  ภาคเกษตรกรรม และไฟป่า ซึ่งล้วนแต่คือน้ำมือของมนุษย์

ปริมาณฝนน้อยอากาศแล้งมากปริมาณจุดความร้อนจะเพิ่มมากขึ้น ยกตัวอย่างตัวเลข ในปี 2562 ปริมาณการเผาข้อมูลจากดาวเทียม Gistda สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โดยใช้ดาวเทียม TERRA และ AQUA  สรุปได้ว่าระหว่าง 1 มกราคม- 31 พฤษภาคม 2562 พบว่าในประเทศไทยพบจุดความร้อนสะสม หรือควันไฟในที่โล่ง รวมทั้งหมด 29,251 จุด ดูเหมือนเยอะ ประเทศไทยโครงสร้างเหมือนแอ่งกระทะ แต่พอไปดูประเทศเพื่อนบ้านเมียนมาร์ เผาอยู่ 57,533 จุด ลาวซึ่งติดกับเรา 47,120 จุด ลาวมีพรหมแดนติดกับไทยยาวมากที่สุดโอบล้อมกันเกือบพันกิโล กัมพูชา 27,157 จุด  ประกอบกับประเทศไทยก็มีรถยนต์เยอะ โรงงานเยอะ ไอเสียก็รอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะออกซ้ายก็ไม่ได้จะออกขวาก็ไม่ได้เพราะถูกขนาบ พอถึงฤดูนี้ปุ๊บฝุ่นละอองในประเทศไทยพุ่งปรี๊ดเลย อันนี้เป็นสาเหตุที่รุมเล้าประเทศเราอยู่


ทีนี้เรามาดูว่า 29,251 จุด เกิดขึ้นที่ไหนบ้าง

อันดับ 1.พื้นที่ป่าอนุรักษ์ 8,355 ครั้ง อันดับ 2.พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 7,635 ครั้ง เขต สปก.3,554 ครั้ง พื้นที่เกษตรจริง ๆ 7,177 ครั้ง ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าปัญหาของการเผาและปัญหาหมอกควันจริง ๆ เกิดในเขตพื้นที่ป่าเป็นหลักอาจจะเกิดจากการเผาทำการเกษตรหรือกระบวนการผลิตและเผาเพื่อหาเก็บของป่าไฟที่เผาไร่อาจลุกลามเข้าไปในป่าเกินแก่การควบคลุมของเจ้าหน้าที่ ทั้งหมดทังมวลเกิดจากน้ำมือมนุษย์

แนวทางแก้ไขการแก้ไขปัญหา

อ้อย ในปี พ.ศ.2565 อ้อยที่ตัดก่อนส่งโรงงานจะเป็นอ้อยที่ปลอดการเผาทั้งสิ้น โดยจะต้องมีอ้อยเผาเข้าโรงงานไม่เกิน 0-5% ซึ่งมีมติ ครม.ออกมาแล้ว อย่างไรก็ตามจากการลงพื้นที่เฝ้าระวัง เราพบว่าเกษตรกรบางรายที่ตัดอ้อยไม่เผาเมื่อส่งโรงงานแล้วเกษตรกรกลับมาเผาใบอ้อยที่อยู่ในแปลงอยู่ดี เพื่อให้ดูสะอาดตาและสะดวกต่อการจัดการบำรุงตอได้ง่าย ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจมากขึ้นและจะต้องมีจุดรับชื้อชีวมวลหรือวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเหล่านี้ เราต้องทำให้เป็นของมีค่า ส่วนในนาข้าวและข้าวโพด ก็เหมือนกัน ควรที่จะให้เกษตรกรรู้ถึงคุณประโยชน์จากฟางข้าว ยกตัวอย่างเช่น ปุ๋ยหมัก และพัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์จากฟางข้าว พูดง่าย ๆ คือต้องให้เกษตรกรเห็นคุณค่า ทำให้เป็นของดีมีราคา

ส่วนมาตรการสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และภาคการขนส่ง ยกตัวอย่างประเทศจีน ซึ่งผม ได้มีโอกาศเดินทางไปบ่อย สิ่งที่ผมเห็นคือเมื่อเริ่มเกิดปัญหาหมอกควันในจีน ทุกภาคส่วนสถานประกอบการ บ้านเรือน โรงงาน ปั๊มน้ำมัน จะพ่นเครื่องพ่นไอน้ำ ถ้าเกิดมากกว่านั้นก็จะมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น ปิดโรงเรียน ปิดโรงงาน สถานที่ราชการ และหยุดการเดินรถ และจะพ่นไอน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น เพื่อลดฝุ่นละอองในอากาศ ถือปฏิบัติเป็นอัตโนมัติ

ทั้งหมดทั้งมวลที่เล่ามาเป็นรากฐานของปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่นำเสนอเพื่อให้เป็นแนวทางหนึ่งพื้นให้สังคมไทยก้าวผ่านวิกฤติหมอกจาง ๆ และควันนี้ไปด้วยกัน และหวังว่าจะไม่กลับมาวลเวียนอยู่ในวังวนเดิมจนตกอยู่ในภาวะสังคมสิ้นหวัง ผมเชื่อมั่นว่าสังคมอุดมปัญญาการวางแผนรับมืออย่างผู้มีปัญญา จะทำให้เราจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างยั่งยืนแน่นอน                                                                           

สารจาก

     ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน

ประธานมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)                            

 2707
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์