“ปอเทือง” ดอกไม้แห่งความจงรักภักดี หนึ่งในพระราชดำริปรับปรุงดินในหลวงรัชกาลที่ ๙

“ปอเทือง” ดอกไม้แห่งความจงรักภักดี หนึ่งในพระราชดำริปรับปรุงดินในหลวงรัชกาลที่ ๙

“ปอเทือง” ดอกไม้แห่งความจงรักภักดี หนึ่งในพระราชดำริปรับปรุงดินในหลวงรัชกาลที่ ๙

“ปอเทือง” ดอกไม้แห่งความจงรักภักดี หนึ่งในพระราชดำริปรับปรุงดินในหลวงรัชกาลที่ ๙
“ปอเทือง”  อีกหนึ่งดอกไม้แห่งความจงรักภักดี ซึ่งเราจะเห็นหลายพื้นที่ปลูกเพื่อถวายอาลัยในหลวงรัชกาลที่  ๙ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

และวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จัก “ปอเทือง” ดอกไม้ที่เป็นหนึ่งในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เรื่องการปรับปรุงดินในหลวงรัชกาลที่ ๙  



 “ปอเทือง”  ต้นไม้ในพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เรื่องการปรับปรุงดิน ทรงแนะนำให้แก่เกษตรกรทำปุ๋ยหมักและปุ๋ยพืชสดใช้เอง เพื่อนำมาใช้แก้ความเป็นกรดให้แก่ดินของเกษตรกร ทดแทนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่มีราคาแพง

ด้วยพระอัจฉริยภาพในการแนะนำด้านการเกษตร จากการศึกษาพบว่า ต้นปอเทือง เป็นพืชที่มีคุณสมบัติในการบำรุงดิน และเป็นปุ๋ยพืชสดที่ดีมากในการปรับปรุงดินให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์  การหว่านปอเทือง 1 ครั้ง เท่ากับการปรับปรุงโครงสร้างดินได้ถึง 15 ปี เลยทีเดียว 


ทำความรู้จัก “ปอเทือง”
ปอเทือง (sunn hemp) เป็นพืชในตระกูลถั่ว ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง เรียวสูง ลำต้นแตกกิ่งน้อยถึงปานกลาง ขนาดลำต้นประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ความสูงประมาณ 1.5- 3 เมตร เปลือกลำต้นบาง มีสีเขียว สามารถลอกเป็นเส้นได้ แก่นหรือเนื้อไม้ เป็นไม้เนื้ออ่อน เปราะหักง่าย สามารถใช้ทำเยื่อกระดาษได้ดี

นิยมปลูกใน 2 ฤดู คือ ฤดูหนาวหลังเก็บเกี่ยวข้าว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม และฤดูฝนในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม วัตถุประสงค์ของการปลูกคือ ปลูกเพื่อใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดช้ทำหญ้าอาหาสัตว์ เพื่อการท่องเที่ยวและเพื่อนำดอกไปรับประทาน

วิธีการปลูก :
การปลูกแบบหว่าน นิยมใช้เมล็ดประมาณ 3-5 กิโลกรัม/ไร่ พร้อมกับหว่านปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 20 กิโลกรัม/ไร่ และปุ๋ยคอกตามความเหมาะสม แล้วทำการไถกลบตื้นๆ ทั้งนี้ เพื่อลดต้นทุนอาจไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีก็ได้หลังการปลูกแล้ว ประมาณ 50 -60 วัน หลังเมล็ดงอก ปอเทืองจะเริ่มออกดอก ซึ่งสามารถเก็บมาประกอบอาหารได้ 


ประโยชน์ปอเทือง
1.ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่วที่มีไนโตรเจนสูง รวมถึงสารอาหารอื่นด้วย
2.ใช้เป็นพืชคลุมดิน ป้องกันหน้าดินพังทลาย
3.ใช้สำหรับเลี้ยงโค กระบือ รวมถึงดอก และใบที่นำมาเลี้ยงหมูได้เช่นกัน
4.สามารถนำดอกมารับประทาน ทั้งรับประทานสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก รวมถึงใช้ประกอบอาหารหลายเมนู อาทิ แกงอ่อม แกงเลียง ต้มยำ เป็นต้น
5.ลำต้นใช้สำหรับเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ
6.เปลือกลำต้นสามารถดึงลอกเป็นเส้นได้ และจัดเป็นเส้นใยที่มีความเหนียวสูง สามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชือก ด้าย และอวน เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก : posttoday.com,manager.co.th,puechkaset.com
 41935
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์