โดย นางสาวฉัตรลดา ชาน
นายวชิรวิทย์ ไชยวงศ์
นายไกรสร ใจอ้าย
นายศรีเงิน สนวิเศษณ์
ที่ปรึกษาโครงการ
ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน ประธานมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย)
เลขที่ 253/3 หมู่ 3 ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180
โทร: 083-421-6879, 088-252-6097 E-mail : th_aec@hotmail.com
สาเหตุหลักที่ทำลายพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็ว และเป็นการทำลายสภาพสมดุลของระบบนิเวศอย่างมหาศาล คือไฟป่าซึ่งให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของป่า และระบบนิเวศป่าไม้ นอกจากการเกิดไฟป่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำลายป่าให้เหลือลดน้อยลงแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และภัยแล้งตามมาอีกด้วย อีกทั้งไฟป่ายังเป็นสาเหตุหลักของการทำลายแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ทำให้เกิดความผันแปรของสภาวะภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming ) ดังนั้นไฟป่าจึงเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา
ด้วยสาเหตุดังกล่าวมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 14 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง ปละจังหวัดลำพูน ที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า จึงได้มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันไฟป่าและควบคุมหมอกควัน ในปัจจุบันงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นภารกิจหนึ่งของชุมชนชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย ผลสำเร็จของงานควบคุมไฟป่าในท้องถิ่นจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของชุมชน เริ่มตั้งแต่การป้องกันมิให้เกิดไฟป่าขึ้น ด้วยการวางแผนป้องกันที่ต้นเหตุของปัญหาก็จะทำให้ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้นก็ช่วยบรรเทาความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้และสภาพแวดล้อม
ปัญหาคาดแคลนน้ำในภาคการเกษตรเป็นสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งในหลายๆ สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำเกษตรผสมผสานหรือเกษตรทางเลือกมากนัก และด้วยสภาพแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่ไหลผ่านชุมชนมีสภาพตื้นและบางแห่งมีขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำที่ไหลมาจากป่าแต่ไม่สามารถกักเก็บหรือชะลอไว้ใช้ได้
ในปัจจุบันมีการทำไร่ข้าวโพดในบริเวณติดกับเขตป่าและชุมชนเนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในการทำเกษตรแบบอื่น จึงมีแนวคิดที่จะสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อดักตะกอนและกักเก็บน้ำที่ไหลผ่านจากแม่น้ำและลำห้วย
ดังนั้นจึงจัดกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ด้วยวัสดุธรรมชาติที่อยู่ในท้องถิ่นและวัสดุที่ทางชุมชนจัดหาได้ สร้างฝายให้เกิดการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนโดยทางมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือส่วนหนึ่ง ประชาสัมพันธ์รับสมัครจิตอาสา และเปิดรับบริจาคสิ่งของที่จำเป็นเพื่อทำแนวกันไฟและฝายชะลอน้ำให้ชุมชน ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำเกษตรเชิงเดี่ยว และลดการเผาด้วยการทำเกษตรที่สามารถอยู่รวมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
รายละเอียดผู้เข้าร่วม
สาเหตุหลักที่ทำลายพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็ว และเป็นการทำลายสภาพสมดุลของระบบนิเวศอย่างมหาศาล คือไฟป่าซึ่งให้เกิดการสูญเสียโครงสร้างของป่า และระบบนิเวศป่าไม้ นอกจากการเกิดไฟป่าก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำลายป่าให้เหลือลดน้อยลงแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ และภัยแล้งตามมาอีกด้วย อีกทั้งไฟป่ายังเป็นสาเหตุหลักของการทำลายแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) ทำให้เกิดความผันแปรของสภาวะภูมิอากาศของโลก (Climate Change) ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming ) ดังนั้นไฟป่าจึงเป็นปัญหาที่ทุกคนต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหา เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมา
ด้วยสาเหตุดังกล่าวมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) และชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย 14 หมู่บ้าน ใน 3 จังหวัดภาคเหนือ คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง ปละจังหวัดลำพูน ที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า จึงได้มีการเตรียมความพร้อมในการป้องกันไฟป่าและควบคุมหมอกควัน ในปัจจุบันงานควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเป็นภารกิจหนึ่งของชุมชนชาวบ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย ผลสำเร็จของงานควบคุมไฟป่าในท้องถิ่นจึงขึ้นอยู่กับความร่วมมือกันของชุมชน เริ่มตั้งแต่การป้องกันมิให้เกิดไฟป่าขึ้น ด้วยการวางแผนป้องกันที่ต้นเหตุของปัญหาก็จะทำให้ปัญหาไฟป่าที่เกิดขึ้นได้รับการแก้ไขไม่ให้เกิดขึ้น หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้นก็ช่วยบรรเทาความเสียหายต่อพื้นที่ป่าไม้และสภาพแวดล้อม
ปัญหาคาดแคลนน้ำในภาคการเกษตรเป็นสาเหตุหลักอีกสาเหตุหนึ่งในหลายๆ สาเหตุที่ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการทำเกษตรผสมผสานหรือเกษตรทางเลือกมากนัก และด้วยสภาพแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่ไหลผ่านชุมชนมีสภาพตื้นและบางแห่งมีขนาดเล็ก มีปริมาณน้ำที่ไหลมาจากป่าแต่ไม่สามารถกักเก็บหรือชะลอไว้ใช้ได้
ในปัจจุบันมีการทำไร่ข้าวโพดในบริเวณติดกับเขตป่าและชุมชนเนื่องจากไม่มีน้ำใช้ในการทำเกษตรแบบอื่น จึงมีแนวคิดที่จะสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อดักตะกอนและกักเก็บน้ำที่ไหลผ่านจากแม่น้ำและลำห้วย
ดังนั้นจึงจัดกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ ตำบลแม่ลาน้อย อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอนตำบลวังทอง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ด้วยวัสดุธรรมชาติที่อยู่ในท้องถิ่นและวัสดุที่ทางชุมชนจัดหาได้ สร้างฝายให้เกิดการปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนโดยทางมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถสนับสนุนงบประมาณช่วยเหลือส่วนหนึ่ง ประชาสัมพันธ์รับสมัครจิตอาสา และเปิดรับบริจาคสิ่งของที่จำเป็นเพื่อทำแนวกันไฟและฝายชะลอน้ำให้ชุมชน ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนทัศนคติการทำเกษตรเชิงเดี่ยว และลดการเผาด้วยการทำเกษตรที่สามารถอยู่รวมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
รายละเอียดผู้เข้าร่วม