เทคนิคการจัดการน้ำในนาข้าวแบบเปียกสลับแห้ง
การผลิตข้าว 1 กิโลกรัมใช้น้ำในการเพาะปลูกมากถึง 1,670 ลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเทคนิคการจัดการน้ำอย่างประหยัดแบบเปียกสลับแห้ง ซึ่งสามารถประหยัดน้ำได้สูงสุด 50% ลดต้นทุน 8-13 % และลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน 80 % เลยทีเดียว
อย่างแรกชาวนาต้องรู้จักท่อดูน้ำในแปลงนากันก่อน ที่ใช้วัดปริมาณน้ำในแปลงข้าวนั่นเอง
วิธีทำท่อดูน้ำ ให้ตัดท่อ PVC ขนาด 4 นิ้ว ยาว 25 เซนติเมตร ให้วัดจากขอบท่อมา 5 เซนติเมตร และใช้ปากกาเคมีจุดไว้ ทำทุกๆ 5 เซนติเมตร ทั้งหมด 4 จุด และเจาะตามจุดที่กำหนดไว้ พอได้เรียบร้อยก็เอาท่อน้ำไปฝังไว้ในแปลงนาลึก 20 เซนติเมตร ให้ปากท่อพ้นดิน 5 เซนติเมตร และเติมน้ำให้มิดปากท่อ
ลดระดับน้ำเพื่อหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าว หลังหว่านข้าว 1 ถึง 2 วัน ให้พ่นสารเคมีควบคุมก่อนวัชพืชงอก
หลังหว่านข้าวแล้ว 15-20 วัน ถ้าระดับน้ำในท่อดูลดต่ำลงมากกว่า 10 เซนติเมตร ให้นำน้ำเข้าแปลงนาจนท่วมปากท่อ แล้วขังน้ำไว้ 3 วัน
เมื่อใส่ปุ๋ยครั้งแรกแล้ว รักษาระดับน้ำให้ท่วมผิวดิน หลังจากนั้นปล่อยให้น้ำในนาเริ่มลดลง และแห้งลงตามธรรมชาติ หลังจากใส่ปุ๋ยครั้งแรกช่วง 30-35 วัน หลังหว่านข้าว เป็นช่วงระยะเวลาจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง โดยให้ตรวจดูระดับน้ำใต้ดินจากท่อดูน้ำ
ถ้าระดับน้ำในท่อลดต่ำลงมามากกว่า 10 เซนติเมตร ให้นำน้ำเข้าแปลงนาให้ท่วมปากท่อดูน้ำ เหนือผิวดิน 5 เซนติเมตร ขังน้ำไว้จนกระทั่งน้ำแห้ง และให้น้ำแบบนี้จนกระทั่งข้าวเริ่มตั้งท้อง
ระยะเข้าเริ่มตั้งท้อง ข้าวมีความต้องการน้ำมากขึ้น ให้นำน้ำเข้าแปลงนาให้ท่วมปากท่อดูน้ำ ขังไว้ 3 วันแล้ว ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2
50 วันหลังข้าวเริ่มตั้งท้อง เป็นช่วงที่ข้าวขาดน้ำไม่ได้ ให้รักษาระดับน้ำในแปลงนาให้สูงกว่าปากท่อดูน้ำ เพิ่มระดับน้ำเป็น 10 เซนติเมตรหลังเข้าออกดอกแล้ว 20 วัน ข้าวไม่ต้องการน้ำแล้ว ให้เก็บท่อดูน้ำ และระบายน้ำออกจากแปลงนาให้แห้ง เพื่อเร่งการสุกแก่