Menu
หน้าหลัก
เกี่ยวกับเรา
ผู้บริหาร
นโยบาย
พันธกิจ
สถานที่ตั้ง สำนักงาน
ข่าวสารและกิจกรรม
บทความ
หนังสือ
ตลาดสีเขียว
ติดต่อเรา
หน้าแรก
ข่าวสารและกิจกรรม
จุดเริ่มต้นเล็กๆในการเปลี่ยนแปลงด้วย “หญ้าแพงโกล่า”
จุดเริ่มต้นเล็กๆในการเปลี่ยนแปลงด้วย “หญ้าแพงโกล่า”
ย้อนกลับ
หน้าแรก
ข่าวสารและกิจกรรม
จุดเริ่มต้นเล็กๆในการเปลี่ยนแปลงด้วย “หญ้าแพงโกล่า”
จุดเริ่มต้นเล็กๆในการเปลี่ยนแปลงด้วย “หญ้าแพงโกล่า”
ย้อนกลับ
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรไทยเป็นหนี้จากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เมื่อเราลองนึกตามดู เราจะมองเห็นว่าเกษตรกรมีความอดทน มีความพยายาม มีความตั้งใจในการผลิต ซึ่งสิ่งที่ออกมามีปริมาณที่มาก แต่ผู้ผลิตเองกลับมีต้นทุนที่สูง กำไรที่ต่ำจึงทำให้เกษตรกรต้องเป็นหนี้ อย่างในชุมชนตำบลก้อเกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพหลักโดยมีการเลี้ยงโค และกระบือเป็นอาชีพเสริมแต่เกษตรกรยังคงต้องซื้อหญ้าฟางข้าวอัดก้อนจากนอกพื้นที่เพื่อเป็นอาหารให้กับโคกระบือ เพื่อนำโคกระบือมาขุนก่อนการขาย ทั้งๆ ที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่สัตว์ที่เลี้ยงไม่ได้กินข้าวโพด เพราะผลผลิตที่ได้มาจะขายให้แก่โรงงานทั้งหมด ดังนั้นจึงมีเกษตรกรต้องการปรับเปลี่ยนพื้นที่ของตัวเองเริ่มต้นตั้ง 2 ไร่ ไปจนถึง 30 ไร่
ในการผลิตอาหารสัตว์จากพืชทดแทนเพื่อเลี้ยงโค และกระบือในพื้นที่ของตัวเอง และเพื่อลดการปลูกข้าวโพดลง เพราะเกษตรกรกลุ่มดังกล่าวนั้นได้กำไรจากการขายโคกระบือมากกว่าการทำข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เสียอีก
จากการที่เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) ได้หาข้อมูล และท่อนพันธุ์ พบว่ามีท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าซึ่งเป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็กเรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่ม ทนน้ำท่วมขัง เจริญเติบโตดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตัน/ไร่/ปี โปรตีน 7-11 เปอร์เซ็นต์ โดยหญ้าแพงโกล่าเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของ วัว ควาย ม้า แพะ แกะ กระต่าย โดยการใช้ประโยชน์ ใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดหญ้าครั้งแรก 60 วันหลังปลูก และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 40 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 5-10 เซนติเมตร การปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็มครั้งแรกควรปล่อยเมื่อหญ้าอายุ 90 วัน หญ้าแพงโกล่าเหมาะสำหรับใช้
เลี้ยงโค กระบือ ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือหญ้าหมัก เหมาะสมกับพื้นที่ จึงเดินทางจากตำบลก้อเพื่อไปขอความรู้จากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์แพร่ตามความต้องการของเกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบไร่ทุ่งและระบบฟาร์ม เป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ ที่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรได้มีรายได้เพิ่มขึ้น และยั่งยืนมากขึ้น แถมยังช่วยรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีอีกด้วย
เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2564 เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) ได้เดินทางศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์แพร่ เพื่อศึกษาหญ้าแพงโกล่าในการนำมาเป็นพืชปรับเปลี่ยนการเลี้ยงโค และควายในพื้นที่ตำบลก้อ ซึ่งเป็นความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ โดยได้รับคำแนะนำในการปลูกขยายพันธุ์ หญ้าแพงโกล่าในการเลี้ยงแบบคอกหรือระบบฟาร์ม และการเลี้ยงปล่อยไร่ทุ่งซึ่งจะสามารถช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนการเลี้ยงโคกระบือได้เป็นอย่างดี
ในตอนนี้เจ้าหน้าที่อาสาสมัครมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการประสานงานขอให้เกษตรกรลงทะเบียนเพื่อนำรายชื่อดังกล่าวขอสนับสนุนจากศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์แพร่ในการขอท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าให้แก่เกษตรกร จำนวน 20 ราย โดยมีความต้องการที่จะเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพื้นที่ปลูกหญ้าแพงโกล่าประมาณ 60 ไร่ และได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์แพร่ เพื่อขอเข้ารับสนับสนุนท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าในเดือนกรกฎาคม 2564 และเมื่อท่อนพันธุ์ได้มีการเริ่มปลูกจะนำเสนอต่อไปในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาต่อยอดอาชีพเลี้ยงโคกระบือต่อไป
935
ผู้เข้าชม
< กลับ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com