โดย ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน หัวหน้าโครงการ/ผู้ประสานงาน
เลขที่ 287 หมู่ 5 ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50210
โทร: 083-421-6879, 088-252-6097 E-mail : th_aec@hotmail.com
กว่า 20 ปี มาแล้ว ที่เราวนเวียนกับปัญหาหมอกควันที่เหมือนกับว่า เราจะไม่เคยประสบผลสำเร็จเลยในการแก้ปัญหา หมอกควันเลย สิ่งที่เราต้องเผชิญคือสถานการณ์เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมักจะเกิดในช่วงปลายฤดูหนาวสู่ฤดูแล้ง ประมาณช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ของทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง ต้องประสบกับปัญหาหมอกควัน และมลพิษในอากาศที่สูงมากกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนทางภาคเหนือส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบเป็นลักษณะแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควันไม่สามารถกระจายตัวออกไปได้ โดยปกติหมอกควันและมลพิษทางอากาศจะลอยขึ้นไปในอากาศได้สูงประมาณ 3-5 กิโลเมตร แต่เมื่อมีภูเขาสูงกั้นและพื้นที่ชุมชนหรือเมืองมีลักษณะที่เป็นแอ่งกระทะ จึงทำให้หมอกควันและมลพิษสะสมในบรรยากาศเป็นปริมาณมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีสาเหตุเกิดจากการเผาไหม้ที่สำคัญคือ การเกิดไฟป่าจำนวนหลายครั้ง ทั้งภายในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนการเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการเก็บเห็ดเผาะและผักหวาน การเผาขยะชุมชนและการก่อไฟให้ความอบอุ่น การเผาไหม้เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซอันตรายต่าง ๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ ในบรรยากาศและแพร่กระจายไปยังบริเวณชุมชน มลพิษหมอกควันทางภาคเหนือจัดเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะและสภาพภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวที่มีความกดอากาศสูงสภาพอากาศนิ่งและแห้งเป็นเวลานาน ทำให้มีการสะสมของสารมลพิษเหล่านี้ในบรรยากาศสูงเกินมาตรฐาน
สาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันทางภาคเหนือนั้นมีปัญหามาจากเรื่องของการ "เผา" อาทิ การเผาในพื้นที่เกษตร การเผาวัชพืชริมทางและการเผาป่า ซึ่งก่อให้เกิดหมอกควันและฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควัน ระบายออกสู่อากาศ ซึ่งสารพิษต่าง ๆ ที่มีในหมอกควันได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ มากมายอาทิ
สารในหมอกควันที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝุ่นขนาดเล็ก และแก๊สพิษ โดยผลจากการตรวจวัดระดับฝุ่นในอากาศในหลายที่ปีผ่านมา พบว่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงซึ่งสารที่ประกอบในหมอกควันทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย คือ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ รวมไปถึงระบบสมอง ก่อให้เกิดโรคเฉียบพลัน อาทิ หลอดลมอักเสบ ไอ หายใจลำบาก อาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่ เช่น หอบหืดหรือถุงลมโป่งพองกำเริบหนักกว่าเดิม เมื่อร่างกายดูดซึมสารพิษและฝุ่นละอองเข้าไปสะสมจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเส้นเลือดในสมองตีบ บางรายถึงขั้นเป็นอัมพาธเพราะเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่สมองและยังส่งผลกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ การศึกษาพบชัดเจนว่าในระยะที่มีหมอกควันเด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและเป็นโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเกิดโรคที่เกิดจากการสะสมก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองที่น่ากลัวที่สุดและได้รับการยืนยันแล้วคือในหมอกควันมีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วย จึงทำให้ผู้ที่หายใจเอาหมอกควันเข้าไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งภาคเหนือเรามีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดสูงสุดในประเทศ อันดับที่ 1 คือจังหวัดลำปาง อันดับ 2 ลำพูน และอันดับ 3 คือจังหวัดเชียงใหม่ โดยบางคนจะเห็นว่าไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดจากสาเหตุหมอกควัน
ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญบดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้วยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมากซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆที่ตามมาจากปัญหาหมอกควันและมลภาวะทางอากาศนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุก ๆปี โดยสาเหตุหลักๆ เกิดจากน้ำมือมนุษย์ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีกระบวนการผลิตที่เร่งรีบขึ้นและค่าแรงงานแพงขึ้น ระบบเกษตรอุตสาหกรรมเข้มข้นเกษตรกรจึงกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการเผาและสร้างมลภาวะ แม้รัฐบาลจะออกกฎหมายห้ามก็ดูเหมือนว่าไม่ประสบผลสำเร็จเลย ดังนั้นการที่จะแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการและวิธีการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการความร่วมมือทั้งจากเกษตรกรเองและผู้บริโภค เป้าหมายคือการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมไม่เผาร่วมกัน เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ในการผลิต คือค่านิยมไม่เผาและเกิดค่านิยมการบริโภคสินค้าที่ผลิตจากกระบวนการผลิตที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำมาถึงความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการป้องกันปัญหาหมอกควัน
3 ปี 2018 – 2021
จัดตั้งองค์กรรับผิดชอบหลักในที่นี้คือ ตั้งมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) โดยจัดตั้งและสร้างที่อาคาร เลขที่ 287 หมู่ 5 ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารสำนักงานรองรับพนักงาน 4 คน จัดหารถกระบะ 4 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใหม่ 1 คัน เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ 4 ตำแหน่ง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิและคณะที่ปรึกษาโดยโครงสร้างขององค์กรซึ่งอยู่ภายใต้มูลนิธิ ซึ่งมูลนิธิประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน มีผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา 4 คน มีผู้อำนวยการปฏิบัติงานครึ่งเวลา กรอบการทำงานภายใต้โครงการประกอบด้วย การจัดตั้งองค์กร กำหนดแผนยุทธศาสตร์กำจัดหมอกควันในพื้นที่การเกษตรแห่งชาติ กำหนดแผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันสูงโดยจะเข้าปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่นและสภาเกษตรกรประจำจังหวัด โดยขอความร่วมมือให้สภาเกษตรกรทุกจังหวัดเป็นหน่วยประสานงานโครงการและขับเคลื่อนกิจกรรม จัดทำข้อกำหนดกระบวนการรับ สมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยคณะที่ปรึกษาและคณะผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาร่วมกันและเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดการเผาในพื้นที่การเกษตร และเทคนิคการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมออกแบบตราสัญลักษณ์ผลผลิตที่มาจากโครงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเชิญผู้แทนเกษตรกร สภาเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในประเด็นข้อกำหนดในการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เพื่อชี้แจงโครงการตลอดจนเพื่อพิจารณาข้อกำหนดขอเกษตรกรที่จะได้รับการรับรอง กระบวนการขึ้นทะเบียนและตรวจรับรอง คัดเลือกผู้ประสานงาน 5 คน ประจำภาคต่าง ๆ และเปิดรับผู้ตรวจประเมิน
จากนั้น อบรมผู้ประสานงานและผู้ตรวจประเมิน โดยอบรมกรอบความรับผิดชอบและหน้าที่หลักสูตรฝึกอบรมจะคล้ายๆ การอบรมการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP
สภาเกษตรกรประจำจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่สภาฯ เปิดรับสมัครเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการในขณะเดียวกัน ทางโครงการจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตรวจประเมินและผู้ประสานงานจะลงพื้นที่ตรวจรับรอง จากเอกสาร ภาพถ่าย และอาจจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติเคมีดินและจัดทำเป็นฐานข้อมูล โดยใช้เครื่องจับพิกัด GPS ทุกแปลง จัดทำฐานข้อมูลระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบติดตามผล
จัดประชุมเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ ให้ความรู้ แนะนำแนวทางการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อบรมให้ความรู้การผลิตที่ไม่มีการเผา โดยจัดประชุมในพื้นที่แต่ละชุมชน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกรและคณะทำงาน สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สำรวจกิจกรรมการผลิตจัดทำฐานข้อมูลผลผลิตที่มาจากโครงการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำเว็ปไซด์จำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะผลผลิตที่มาจากกระบวนการผลิตในโครงการ
พิจารณาโครงการข้อเสนอโครงการวิจัยและส่งต่อสู่แหล่งทุนติดตามประเมินผลและดำเนินการตรวจรับรอง สร้างฐานข้อมูลพื้นที่ปริมาณการเผา ปริมาณหมอกควัน ทำสถิติระยะ 4 ปีสรุปและประเมินผลโครงการ พร้อมรายงานความก้าวหน้าทุก 4 เดือน
แผนงานโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
กว่า 20 ปี มาแล้ว ที่เราวนเวียนกับปัญหาหมอกควันที่เหมือนกับว่า เราจะไม่เคยประสบผลสำเร็จเลยในการแก้ปัญหา หมอกควันเลย สิ่งที่เราต้องเผชิญคือสถานการณ์เป็นปัญหามลพิษที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในภาคเหนือของประเทศไทย โดยมักจะเกิดในช่วงปลายฤดูหนาวสู่ฤดูแล้ง ประมาณช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน ของทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำพูน และลำปาง ต้องประสบกับปัญหาหมอกควัน และมลพิษในอากาศที่สูงมากกว่าปกติ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนทางภาคเหนือส่วนใหญ่มักตั้งอยู่ในที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีภูเขาล้อมรอบเป็นลักษณะแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควันไม่สามารถกระจายตัวออกไปได้ โดยปกติหมอกควันและมลพิษทางอากาศจะลอยขึ้นไปในอากาศได้สูงประมาณ 3-5 กิโลเมตร แต่เมื่อมีภูเขาสูงกั้นและพื้นที่ชุมชนหรือเมืองมีลักษณะที่เป็นแอ่งกระทะ จึงทำให้หมอกควันและมลพิษสะสมในบรรยากาศเป็นปริมาณมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม มีสาเหตุเกิดจากการเผาไหม้ที่สำคัญคือ การเกิดไฟป่าจำนวนหลายครั้ง ทั้งภายในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน การเผาเศษวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝนการเผาพื้นที่เพื่อประโยชน์ต่อการเก็บเห็ดเผาะและผักหวาน การเผาขยะชุมชนและการก่อไฟให้ความอบอุ่น การเผาไหม้เหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซอันตรายต่าง ๆ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ ในบรรยากาศและแพร่กระจายไปยังบริเวณชุมชน มลพิษหมอกควันทางภาคเหนือจัดเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะและสภาพภูมิอากาศในช่วงฤดูหนาวที่มีความกดอากาศสูงสภาพอากาศนิ่งและแห้งเป็นเวลานาน ทำให้มีการสะสมของสารมลพิษเหล่านี้ในบรรยากาศสูงเกินมาตรฐาน
สาเหตุหลักของการเกิดหมอกควันทางภาคเหนือนั้นมีปัญหามาจากเรื่องของการ "เผา" อาทิ การเผาในพื้นที่เกษตร การเผาวัชพืชริมทางและการเผาป่า ซึ่งก่อให้เกิดหมอกควันและฝุ่นละออง เถ้า เขม่าควัน ระบายออกสู่อากาศ ซึ่งสารพิษต่าง ๆ ที่มีในหมอกควันได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ มากมายอาทิ
สารในหมอกควันที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ฝุ่นขนาดเล็ก และแก๊สพิษ โดยผลจากการตรวจวัดระดับฝุ่นในอากาศในหลายที่ปีผ่านมา พบว่ามีจำนวนมากขึ้นอย่างน่าเป็นห่วงซึ่งสารที่ประกอบในหมอกควันทั้งสองนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับระบบต่าง ๆ ของร่างกาย คือ ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจ รวมไปถึงระบบสมอง ก่อให้เกิดโรคเฉียบพลัน อาทิ หลอดลมอักเสบ ไอ หายใจลำบาก อาจจะทำให้โรคที่เป็นอยู่ เช่น หอบหืดหรือถุงลมโป่งพองกำเริบหนักกว่าเดิม เมื่อร่างกายดูดซึมสารพิษและฝุ่นละอองเข้าไปสะสมจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเส้นเลือดในสมองตีบ บางรายถึงขั้นเป็นอัมพาธเพราะเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงที่สมองและยังส่งผลกับสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ การศึกษาพบชัดเจนว่าในระยะที่มีหมอกควันเด็กที่คลอดออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติซึ่งอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตและเป็นโรคอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเกิดโรคที่เกิดจากการสะสมก่อให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองที่น่ากลัวที่สุดและได้รับการยืนยันแล้วคือในหมอกควันมีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วย จึงทำให้ผู้ที่หายใจเอาหมอกควันเข้าไปเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ซึ่งภาคเหนือเรามีจำนวนผู้ป่วยมะเร็งปอดสูงสุดในประเทศ อันดับที่ 1 คือจังหวัดลำปาง อันดับ 2 ลำพูน และอันดับ 3 คือจังหวัดเชียงใหม่ โดยบางคนจะเห็นว่าไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ก็เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดจากสาเหตุหมอกควัน
ผลกระทบที่เกิดจากหมอกควันอันมีสาเหตุมาจากการเผานั้นมีหลายเรื่องด้วยกัน อาทิ กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัยของประชาชน ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญบดบังวิสัยการจราจรทั้งทางบกและทางอากาศส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นที่ทราบกันดี อย่างไรก็ตามนอกจากผลกระทบที่กล่าวมาแล้วยังมีผลกระทบทางด้านนิเวศสิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงอีกมากซึ่งสามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้
จะเห็นได้ว่าปัญหาต่าง ๆที่ตามมาจากปัญหาหมอกควันและมลภาวะทางอากาศนับวันจะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุก ๆปี โดยสาเหตุหลักๆ เกิดจากน้ำมือมนุษย์ โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีกระบวนการผลิตที่เร่งรีบขึ้นและค่าแรงงานแพงขึ้น ระบบเกษตรอุตสาหกรรมเข้มข้นเกษตรกรจึงกลายเป็นสาเหตุสำคัญของการเผาและสร้างมลภาวะ แม้รัฐบาลจะออกกฎหมายห้ามก็ดูเหมือนว่าไม่ประสบผลสำเร็จเลย ดังนั้นการที่จะแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรจำเป็นจะต้องใช้กระบวนการและวิธีการแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนโดยมุ่งเน้นที่กระบวนการความร่วมมือทั้งจากเกษตรกรเองและผู้บริโภค เป้าหมายคือการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมไม่เผาร่วมกัน เพื่อให้เกิดค่านิยมใหม่ในการผลิต คือค่านิยมไม่เผาและเกิดค่านิยมการบริโภคสินค้าที่ผลิตจากกระบวนการผลิตที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะนำมาถึงความสำเร็จอย่างยั่งยืนของการป้องกันปัญหาหมอกควัน
3 ปี 2018 – 2021
จัดตั้งองค์กรรับผิดชอบหลักในที่นี้คือ ตั้งมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย) โดยจัดตั้งและสร้างที่อาคาร เลขที่ 287 หมู่ 5 ตำบลสันทรายน้อย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอาคารสำนักงานรองรับพนักงาน 4 คน จัดหารถกระบะ 4 ประตู ขับเคลื่อน 4 ล้อ ใหม่ 1 คัน เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่ตำแหน่งต่าง ๆ 4 ตำแหน่ง แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิและคณะที่ปรึกษาโดยโครงสร้างขององค์กรซึ่งอยู่ภายใต้มูลนิธิ ซึ่งมูลนิธิประกอบด้วยกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน มีผู้ปฏิบัติงานเต็มเวลา 4 คน มีผู้อำนวยการปฏิบัติงานครึ่งเวลา กรอบการทำงานภายใต้โครงการประกอบด้วย การจัดตั้งองค์กร กำหนดแผนยุทธศาสตร์กำจัดหมอกควันในพื้นที่การเกษตรแห่งชาติ กำหนดแผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ที่ก่อให้เกิดปัญหาหมอกควันสูงโดยจะเข้าปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่นและสภาเกษตรกรประจำจังหวัด โดยขอความร่วมมือให้สภาเกษตรกรทุกจังหวัดเป็นหน่วยประสานงานโครงการและขับเคลื่อนกิจกรรม จัดทำข้อกำหนดกระบวนการรับ สมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ โดยคณะที่ปรึกษาและคณะผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาร่วมกันและเปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดการเผาในพื้นที่การเกษตร และเทคนิคการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมออกแบบตราสัญลักษณ์ผลผลิตที่มาจากโครงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนเชิญผู้แทนเกษตรกร สภาเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนในประเด็นข้อกำหนดในการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เพื่อชี้แจงโครงการตลอดจนเพื่อพิจารณาข้อกำหนดขอเกษตรกรที่จะได้รับการรับรอง กระบวนการขึ้นทะเบียนและตรวจรับรอง คัดเลือกผู้ประสานงาน 5 คน ประจำภาคต่าง ๆ และเปิดรับผู้ตรวจประเมิน
จากนั้น อบรมผู้ประสานงานและผู้ตรวจประเมิน โดยอบรมกรอบความรับผิดชอบและหน้าที่หลักสูตรฝึกอบรมจะคล้ายๆ การอบรมการตรวจประเมินเกษตรอินทรีย์ หรือ GAP
สภาเกษตรกรประจำจังหวัด โดยเจ้าหน้าที่สภาฯ เปิดรับสมัครเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการในขณะเดียวกัน ทางโครงการจะดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตรวจประเมินและผู้ประสานงานจะลงพื้นที่ตรวจรับรอง จากเอกสาร ภาพถ่าย และอาจจะมีการตรวจสอบคุณสมบัติเคมีดินและจัดทำเป็นฐานข้อมูล โดยใช้เครื่องจับพิกัด GPS ทุกแปลง จัดทำฐานข้อมูลระบบจัดการฐานข้อมูล ระบบติดตามผล
จัดประชุมเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ ให้ความรู้ แนะนำแนวทางการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อบรมให้ความรู้การผลิตที่ไม่มีการเผา โดยจัดประชุมในพื้นที่แต่ละชุมชน เป็นการเรียนรู้ร่วมกันของเกษตรกรและคณะทำงาน สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน สำรวจกิจกรรมการผลิตจัดทำฐานข้อมูลผลผลิตที่มาจากโครงการ
ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ รวมทั้งสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และโฆษณาประชาสัมพันธ์ทำเว็ปไซด์จำหน่ายสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะผลผลิตที่มาจากกระบวนการผลิตในโครงการ
พิจารณาโครงการข้อเสนอโครงการวิจัยและส่งต่อสู่แหล่งทุนติดตามประเมินผลและดำเนินการตรวจรับรอง สร้างฐานข้อมูลพื้นที่ปริมาณการเผา ปริมาณหมอกควัน ทำสถิติระยะ 4 ปีสรุปและประเมินผลโครงการ พร้อมรายงานความก้าวหน้าทุก 4 เดือน
แผนงานโครงการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ