จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bateria: PSB)

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bateria: PSB)

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bateria: PSB)

จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง (Photosynthetic Bateria: PSB) มักพบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เช่น ทะเลสาบน้ำจืดและน้ำเค็ม น้ำพุร้อนหรือในบ่อปิดที่น้ำไม่มีการเคลื่อนไหว เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบตามแหล่งน้ำเสีย บ่อบำบัดน้ำเสีย และดินอีกด้วย
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงสามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรได้ ซึ่งจะช่วยย่อยสลายของเสียในแปลงนา เช่น ก๊าซไข่เน่าหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide) ซึ่งก๊าซนี้มักเกิดจากตอซัง ฟางข้าว หรือวัชพืชที่ถูกไถกลบแล้วยังไม่ย่อยสลาย เป็นต้น จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงจะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมีของก๊าซไข่เน่าแล้วนำมาใช้เป็นพลังงานในการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ ระหว่างนั้นจุลินทรีย์ PSB จะขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปของกลุ่มโกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone: GH) กรดอะมิโนที่จำเป็น และยังมีวิตามินและแร่ธาตุ นอกจากนี้เข้าไปทำลายพันธะทางเคมีของกลุ่มก๊าซมีเทน (CH4) ที่มีอยู่ในแปลงนาให้เหลือแต่คาร์บอน (C) ซึ่งสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ

ความมหัศจรรย์ของแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ตรงกระบวนการที่อยู่ในเซลล์ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีแสงก็เกิดกระบวนการใช้แสง ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่มีแสงก็เปลี่ยนมาใช้อีกกระบวนการที่ไม่ใช้แสงทำให้มีชีวิตอยู่ได้ เพราะฉะนั้นเราใช้ประโยชน์จากกระบวนการดำรงชีวิตตรงนี้ ในแง่ของการเลี้ยง การบำบัดน้ำเสีย เอามาใช้ในการบำบัดดิน โดยไม่ต้องเอามาพักในบ่อซึ่งเป็นระบบบำบัด

เมื่อใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงเป็นประจำและต่อเนื่องจะสามารถลดการใช้อาหาเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ลงได้ ทำให้ลดต้นทุนในการผลิตและมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น ใช้เป็นแหล่งของธาตุไนโตรเจน (N) แทนปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) สูงสุดถึงร้อยละ 50 ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดีทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลงศัตรูพืช ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้พืชสามารถสะสมอาหารได้มากและเพิ่มผลผลิตได้ดี เป็นต้น

ในนาข้าวใช้อัตราส่วน 5 ลิตรต่อไร่ สาดให้ทั่วพื้นที่ ในพืชสวนใช้อัตราส่วน 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดลงดินขณะเตรียมปลูกหรือฉีดพ่นทางลำต้นและราก ทุก ๆ 7-10 วัน ในแปฃงผักและไม้ดอกใช้อัตราส่วน 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นลำต้นและรากทุก ๆ 5-7 วัน

ประโยชน์ของจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
  1. ช่วยย่อยสลายของเสียในแปลงนา โดยเฉพาะกลุ่มก๊าซไข่เน่า(ไฮโดรเย่นซัลไฟต์) โดยที่จุลินทรย์จะเข้าไปทำลายพันธะทางเคมี โดยการกำจัด ก๊าซไฮโดรเย่น ซึ่งเป็นพันธะทางเคมีหลักของก๊าซไข่เน่า(H2S) โดยนำของเสียนั้นมาเป็นพลังงานใช้ในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลล์ระหว่างกระบวนการที่กล่าวมานั้นจุลินทรีย์ได้ ขับของเสียออกมาให้อยู่ในรูปกลุ่ม โกสฮอร์โมน ที่มีรายละเอียดเบื้องต้น
  2. ช่วยลดสภาวะโลกร้อนได้อย่างมาก โดยเข้าไปทำลายพันธะเคมีของกลุ่มก๊าซมีเธน (CH4) โดยการย่อยสลายก๊าซไฮโดรเจน จึงทำให้โครงสร้างเสียไป เหลือแต่คาร์บอนซึ่งสามารถย่อยสลายได้โดยธรรมชาติ ซึ่งแปลงนาโดยทั่วไปย่อมมีกลุ่มก๊าซของเสียอยู่แล้ว
  3. ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคพืชได้ดี ทำให้เปลือกหรือลำต้นแข็งแรง ทนต่อการกัดกินของแมลง
  4. ช่วยกระตุ้นเซลล์เจริญบริเวณปลายรากพืชให้ขยายตัวและแตกแขนงได้ดี ทำให้มีรากฝอยที่หากินเก่งจำนวนมาก จึงทำให้พืชสามารถเพิ่มผลผลิตได้ดีเนื่องจากการสะสมอาหารได้มาก
  5. สามารถใช้แทนปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟตได้ โดยใช้หลักการย่อยสลายกลุ่มก๊าซของเสียให้เป็นธาตุอาหารหลักของพืชได้
  6. เมื่อใช้เป็นประจำและต่อเนื่อง สามารถลดการใช้อาหารเสริม หรือปุ๋ยสูตรต่างๆ ลงได้ สูงสุด 50% ทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลงกำไรเพิ่มมากขึ้น
  7. หากมีการนำจุลินทรีย์ไปใช้ผสมร่วมกับน้ำหมักหรือปุ๋ยสูตรต่างๆ จะทำให้ผลผลิตยิ่งเพิ่ม และคุณภาพผลผลิตดีขึ้นตามด้วย


ขอบคุณข้อมูลจาก
วารสารส่งเสริมการเกษตร กลุ่มอารักขาพืช : สำนักงานเกษตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง M - Group : ADMINISTRATOR : 12 มีนาคม 1011
เรียบเรียงโดย
เจ้าหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร : 6 กันยายน 2565
 2361
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์