บทความน่าสนใจ

บทความน่าสนใจ

24 รายการ
โครงการ การผลิตข้าวคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์ข้าวชุมชน และมูลนิธิเกษตรรักษ์สิ่งแวดล้อม(ประเทศไทย)         ซึ่งเมื่อวันที่ 12-13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ไปจัดการอบรมที่ศูนย์ข้าวชุมชน อำเภอพิชัยและอำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี ดร.ตะวัน ห่างสูงเนิน ประธานมูลนิธิฯบรรยายในหัวข้อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาบนพื้นที่เกษตรกรรม และได้เชิญ นายอัษฎางค์ สีหาราช ประธานคณะกรรมการกลางศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ มาเป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายหัวข้อการไถกลบตอซังและการลดการเผาบนพื้นที่เกษตรกรรม
5920 ผู้เข้าชม
พื้นที่เขตชลประทาน ในเขตพื้นที่ชลประทานซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อเนื่อง 2-3 ครั้งต่อปี หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้วไม่ต้องเผาตอซังและฟางข้าว ให้ทำการไถกลบตอซังและฟางข้าวแล้วปล่อยน้ำเข้านา โดยให้ระดับน้ำพอท่วมวัสดุ หลังจากนั้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตรต่อไร่ เจือจางกับน้ำ 100 ลิตร คิดเป็นอัตราส่วน 1 : 20 ราดลงในแปลงข้าวเพื่อช่วยให้ตอซังข้าวย่อยสลายได้ง่าย หมักไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำเทือกเพื่อเตรียมเพาะปลูกข้าวครั้งใหม่ต่อไป หรือสามารถปลูกพืชไร่เศรษฐกิจชนิดอื่นได้ เช่น พืชตระกูลถั่ว ข้าวโพด ข้างฟ่าง ฯลฯ
1735 ผู้เข้าชม
วันดินโลก (อังกฤษ: World Soil Day) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี จากการประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 144 ระหว่างวันที่ 11-15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ สำนักงานใหญ่องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ที่ประชุมได้มีมติสนับสนุนและร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง "วันดินโลก" (World Soil Day) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช
1714 ผู้เข้าชม
การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นาภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดินซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไป
3968 ผู้เข้าชม
เกษตรกรที่เตรียมพื้นที่สำหรับปลูกข้าวโดยทำการเผาตอซังข้าวเพื่อให้เกิดความสะดวกในการไถเตรียมดิน หรือเพื่อต้องการกำจัดวัชพืชและแมลงศัตรูพืชนั้นจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของดินทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ เนื่องจากความร้อนจากการเผาตอซัง ดังนี้
8727 ผู้เข้าชม
ฟางข้าว (Rice straw) เป็นส่วนของต้นข้าวที่เหลือหลังการเก็บเกี่ยว และนำเมล็ดข้าวออกแล้ว แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1.ฟางข้าวจากการเกี่ยวมือ 2.ฟางข้าวจากการเกี่ยวมือ และนวดด้วยรถนวด 3.ฟางข้าวจากรถเกี่ยวข้าว
46976 ผู้เข้าชม
157193 ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์